เมนู

สองบทว่า อกฺขีนิสฺส ทุกฺขานิ มีความว่า มารดาบิดาของอุบาลี
สำคัญว่า อุบาลีเมื่อเรียนตำราดูรูปภาพ จำต้องพลิกไปพลิกมาดูเหรียญกษาปณ์;
เพราะเหตุนั้น นัยน์ตาทั้ง 2 ของเขาจักชอกช้ำ. ในบทว่า ฑังสะ เป็นต้น
จำพวกแมลงสีเหลือง ชื่อว่า ฑังสะ (เหลือบ).
บทว่า ทุกฺขานํ แปลว่า ทนได้ยาก.
บทว่า ติพฺพานํ แปลว่า กล้า.
บทว่า ขรานํ แปลว่า แข็ง
บทว่า กฏุกานํ แปลว่า เผ็ดร้อน. อนึ่ง ความว่า เป็นเช่นกับ
รสเผ็ดร้อน เพราะไม่เป็นที่เจริญใจ.
บทว่า อสาตานํ แปลว่า ไม่เป็นที่ยินดี.
บทว่า ปาณหรานํ แปลว่า อาจผลาญชีวิตได้.
สองบทว่า สีมํ สมฺมนฺนติ ได้แก่ ผูกสีมาใหม่. แต่ในกุรุนที
ท่านปรับเป็นทุกกฏเเม้ไม่การกำหนดวักน้ำสาด.
บทว่า ปริปุณฺณวีสติวสฺโส ได้แก่ ผู้มีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์
นับแต่ถือปฏิสนธิมา.

[ว่าด้วยบุคคลผู้มีอายุหย่อนและครบ 20 ปี]


ความจริง แม้ผู้มีอายุครบ 20 ปี ทั้งอยู่ในครรภ์ ก็ถึงการนับว่า
ผู้มีอายุครบ 20 ปีเหมือนกัน. เหมือนอย่างที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้
ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระกุมารกัสสป เป็นผู้มีอายุครบ 20 ปี ทั้งอยู่ในครรภ์
จึงอุปสมบท ครั้งนั้นแล ท่านพระกุมารกัสสปได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงบัญญัติว่า บุคคลมีอายุหย่อน 20 ปี ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ ก็
เรามีอายุครบ 20 ปี ทั้งอยู่ในครรภ์ จึงได้อุปสมบท, เราจะเป็นอุปสัมบัน
หรือไม่เป็นอุปสัมบันหนอ.